วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

  เบเกอรี่ (Bakery) มีรากศัพท์มาจากคำว่า Bake ที่แปลว่า อบ จึงอาจกล่าวได้ว่า เบเกอรี่ คือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งสาลีเป็นหลัก และทำให้สุกโดยวิธีการอบ 


             เบเกอรี่เริ่มมีขึ้นในยุคหิน โดยชาวสวิสได้เป็นผู้ริเริ่มนำเมล็ดข้าวสาลีมาบดให้แตก ผสมน้ำ ทำให้สุกบนแผ่นหินเผาไฟ ได้อาหารเป็นแผ่น ข้างในเหนียวเหนอะหนะ นับเป็นขนมปังชนิดแรกของโลกเลยค่ะ และต่อมา ชาวอียิปต์ได้พัฒนาจากขนมปังที่เป็นก้อนแน่น ให้มาเป็นก้นโปร่งฟูขึ้น ซึ่งมาจากที่ชาวอียิปต์หมักก้อนแป้งแล้วลืมทิ้งไว้  และได้นำมาผสมกับแป้งที่ทำใหม่เพื่อให้ขนมขึ้นฟู และชาวอียิปต์ยังได้นำดินเหนียวมาทำเป็นภาชนะเพื่อใช้ในการอบขนมแทนแผ่นหิน ซึ่งนั่นก็ถือว่าเป็นเตาอบชนิดแรกของโลก และเตาอบชนิดนี้ แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นล่างไว้ก่อไฟ ชั้นบนสำหรับอบขนม  เชื่อกันว่าเริ่มมีการผลิตมาตั้งแต่ ๓,๐๐๐ ปีก่อน  โดยต้นกำเนิดมาจากพวกทาสในยุคอียิปต์โบราณ ที่ได้ผสมก้อนแป้งที่ลืมทิ้งไว้ลงในแป้งที่ผสมเสร็จใหม่ๆ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายขนมปัง คือเนื้อแป้งเบา ฟู และมีรสชาติอร่อย หลังจากนำไปทำให้สุก 

             ซึ่งต่อมาชาวกรีกได้มีการพัฒนาการผลิตขนมปังให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยการประดิษฐ์เครื่องโม่แป้งจากข้าวสาลีทำให้สามาผลิตแป้งสำหรับทำขนมปังได้ อีกทั้งยังได้คิดค้นดัดแปลงเจาอบเป็นแบบใช้อิฐก่อชาวกรีกนั้นนอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตขนมปังขาวแล้ว ยังเป็นผู้ผลิตขนมเค้กและเบเกอรี่หลากหลายชนิด โดยอาศัยการผสม นม น้ำมัน เหล้าไวน์ เนยแข็งและน้ำผึง เข้าไปในส่วนผสม

         ในสมัยกรีกได้พัฒนาการทำขนมปัง โดยปั้นเป็นก้อนกลมรี น้ำหนักก้อนละ 1 ปอนด์ และเปลี่ยนรูปแบบเตาอบเป็นลักษณะคล้ายรวงผื้ง ซื่งยังใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงเหมือนเดิม  ต่อมาในสมัยโรมัน ก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีการทำขนมปังเพิ่มขึ้น โดยสร้างเครื่องผสมซึ่งประกอบด้วยอ่างหินและพายไม้ และก็พัฒนามาเรื่อย จนถึงศตวรรษที่ 13 ชาวฝรั่งเศสได้บันทึกถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาเครื่องทำขนม ชนิดของขนมปัง และเมื่อกลางศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาอุตสาหกรรมขนมอบก็เริ่มเกิดขึ้น และมีการพัฒนาต่อเนื่อง

          ในประเทศไทย ได้พบหลักฐานในปี พ.ศ. 2230 จากจดหมายเหตุของนักบวชชาวฝรั่งเศส เขียนรายงานเรื่องการซื้อแป้งสาลีมาทำขนมปังในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ปี พ.ศ.2399  จากรายงานของกัปตันเทาเซนต์ แฮรีส ว่ามีการนำแป้งสาลีจากฮ่องกงเพื่อทำขนมปังสำหรับงานเลี้ยงในพระราชวังสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

         หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีวิวัฒนธรรมการบริโภค จึงมีการเปลี่ยนแปลงนิสัยการบริโภคให้คล้อยตามชาวตะวันตก อีกทั้งการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศอเมริกาหรือประเทศคานาดาที่ได้เข้ามาอาศัย และทำธุรกิจจึงทำให้เกิดการผลิตเบเกอรี่ชนิดต่างๆ เช่น ขนมปัง เค้ก คุกกี้ พาย เพื่อบริการให้ชาวต่างชาติเหล่านี้ และนำออกจำหน่าย เป็นผลให้ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่เป็นที่รู้จักของคนไทยมากยิ่งขึ้นโดยธุรกิจประเภทนี้ได้เริ่มเติบโตขึ้นเมื่อประมาณ ๓๐ – ๓๕ ปีที่ผ่านมาเช่นร้านลิตเติ้ลโฮม

          ซึ่งเจ้าของร้านสมัยสงครามเวียดนามประเทศไทยเป็นสถานที่ที่ทหารอเมริกาได้ใช้เป็นฐานทัพ จึงทำให้บริษัทยูไนเต็ดลาวมิลล์เห็นช่างทางก่อตั้งโรงงานผลิตแป้งสาลีในประเทศไทย เพื่อใช้ทำผลิตภัณฑ์พร้อมทั้งมีการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์เบเกอรี่และจัดการฝึกอบรบการใช้แป้งสาลีให้ลูกค้าในธุรกิจเบเกอรี่เพื่อให้สามารถนำแป้งสาลีไปใช้ผลิตเบเกอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แป้งสาลีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อสงครามเวียดนามยุติลง ธุรกิจเบเกอรี่ก็ยังคงได้รับความนิยม และมีการขยายให้ใหญ่โตขึ้นขนวิธีการผลิตเปลี่ยนไปจากเดิม จากร้านเล็กๆ ที่ผลิตด้วยมือมาเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม มีการปรับปรุง ในเรื่องเนื้อสัมผัสความเบาฟู รสหวาน ความมันและกลิ่นหอม ตามความต้องการของผู้รับประทาน ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

 เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ 
ดังนี้

๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

   เบเกอรี่   ( Bakery ) มีรากศัพท์มาจากคำว่า  Bake   ที่แปลว่า อบ   จึงอาจกล่าวได้ว่า   เบเกอรี่ คือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งสาลีเป็นหลัก และท...